เมนู

6. อรรถกถาอุปาลิวาทสูตร1


อุปาลิวาทสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาลนฺทายํ ความว่า ณ นครมีชื่ออย่างนี้
ว่า นาลันทา เพราะกระทำนครนั้น ให้เป็นโคจรคาม บ้านสำหรับโคจร.
คำว่า ปาวาริกมฺพวเน แปลว่า สวนมะม่วงของทุสสปาวาริกเศรษฐี ได้ยิน
ว่า สวนมะม่วงนั้นเป็นสวนของปาวาริกเศรษฐีนั้น. เศรษฐีนั้นฟังพระธรรม
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเลื่อมใส สร้างวิหารอันประดับด้วยกุฏิ ที่เร้น
และมณฑปเป็นต้นในสวนนั้น แล้วมอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. วิหาร
นั้นจึงได้ชื่อว่า ปาวาริกัมพวัน เหมือนวิหาร ชื่อว่า ชีวกัมพวันฉะนั้น. อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวันนั้น.
เดียรถีย์ที่ได้ชื่ออย่างนี้ว่า ฑีฆตปัสสี เพราะเป็นผู้บำเพ็ญตบะมา
นาน.
คำว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. แท้จริง
โวหารว่า บิณฑบาต ไม่มีในลัทธิภายนอกเหมือนในพระพุทธศาสนา. คำว่า
ปญฺญเปติ แปลว่า แสดงตั้งไว้. ฑีฆตปสสีเดียรถีย์ถามตามลัทธินิครนถ์
จึงกล่าวคำนี้ว่า ทณฺฑานิ ปญฺญเปติ. ในคำนี้ว่า กายทณฺฑํ วจีทณฺฑํ
มโนทณฺฑํ พวกนิครนถ์บัญญัติ 2 ทัณฑะเบื้องต้นว่า เล็กน้อย ว่าไม่มีจิต
เขาว่า เมื่อลมพัด กิ่งไม้ก็ไหว น้ำก็กระเพื่อม เพราะกิ่งไม้และน้ำนั้นไม่
มีจิตฉันใด แม้กายทัณฑะก็ไม่มีจิตฉันนั้น. อนึ่ง เมื่อลมพัดกิ่งไม้มีใบตาล
เป็นต้น จึงมีเสียง น้ำจึงมีเสียง เพราะกิ่งไม้และน้ำนั้นไม่มีจิต ฉันใด แม้

1. อรรถกถาเป็นอุปาลิสูตร